ยินดีที่แวะมาเยี่ยม web blog ทักษะการจัดการความรู้ (KM) ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้เรียนศตวรรษที่ 21 วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ขอบคุณคุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา และเพื่อนๆ ที่แนะนำให้คำปรึกษา

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่20

วีธีการทางประวัติศาตร์และหลักฐานทางประวัติศาสตร์

วีธีการทางประวัติศาตร์และหลักฐานทางประวัติศาสตร์

        วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการสีบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยของคนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน โดยไม่หลงเชื่อคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง หรืออ่านหนังสือเพียงเริ่มใดเล่มหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นจริง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของการสืบค้นอดีต เมื่อมีประเด็นที่ต้องการสืบค้นแล้วคือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและละเอียดละออ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น สอบถามผู้รู้ ศึกษาเอกสาร เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหลักฐานทุกชนิดด้วยจิตสำนึกว่า หลักฐานไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด หรือบอกความจริงเสมอไป แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้จากนั้นนำเสนอผลที่ศึกษาได้พร้องอ้างอิงหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่นตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้

สัปดาห์ที่19

วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ 


        หมายถึง กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน โดยไม่หลงเชื่อคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง หรืออ่านหนังสือเพียงเล่มใดเล่มหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นจริง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของการสืบค้นอดีต เมื่อมีประเด็นที่ต้องการสืบค้นแล้ว คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและละเอียดลออ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สอบถามผู้รู้ ศึกษาเอกสาร เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหลักฐานทุกชิ้นด้วยจิตสำนึกว่า หลักฐานไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด หรือบอกความจริงเสมอไป แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้ จากนั้นนำเสนอผลที่ศึกษาได้พร้อมอ้างอิงหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่นตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้
        คนเราจะเดินหน้าต่อไปได้ยังไงครับ ถ้าไม่รู้อดีตของตัวเอง ของบรรพบุรุษ ของประเทศ อย่างเช่น การเสียกรุง ครั้งที่ หนึ่ง กับสอง เพราะคนไทยเเตกเเยกกันเองนะครับ ผู้นำก็ไม่เข้มเเข็ง  การศึกษาปประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เเค่ช่วยการศึกษานะครับ เเต่ยังช่วยให้มองเห็นการผิดพลาด ของบรรพพบุรุษในอดีต เเละ การที่บรรพบุรุษรักกษาเอกราชด้วยการเสียชีวิตตัวเองนั้น ก็เพื่อให้พวกเราเรียกตัวเองไเด้ ว่าเราเป็นคนไทย 

        ประวัติศาสตร์ไม่ได้มีคุณค่าเเค่การศึกษานะครับ มีคุณค่า ต่อการที่เราจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร เเละมีคุณค่าต่อความเป็นคนไทยครับ มีค่าต่อการศึกษาในเเง่เราได้ศึกษา การเมืองในสมัยนั้น การค้าขาย การพฒนาสังคม วิถีชุมชนในอดีต การวิเคราะห์เหตการณ์ต่างๆๆ เเล้วนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบันเพพื่อวางเเผนป้องกันไม่ให้เกิดผิดพลาดอีก 

        หลายๆคนอาจพูดว่า อย่าไปสนใจอดีตเลย ผ่านไปปเเล้ว เเต่เค้าเหล่านั้นคิดเเบบไร้สติครับ คนเราต้องเรียนรู้จากอดีต เพื่อหาหนทาง ปป้องกันวางเเผน ในปัจจุบันเเละอนาคต

สัปดาห์ที่18

การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์


        คือการวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยการนำข้อมูลที่ได้สืบค้นรวบรวม คัดเลือก และประเมินไว้แล้วนำมาพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ต้องใช้เหตุผลเป็นแนวทางในการตีความเพื่อนำไปสู่การค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง 

        ความสำคัญนั้นเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด

        1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
           1.1 หลักฐานชั้นต้น
           1.2 หลักฐานชั้นรอง

        2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
           2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
           2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

        3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
           3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
           3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง

1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
        1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources
       หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ                                                                                      
        1.2 หลักฐานชั้นรอง secondary sources                       
        หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น

2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด

        2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources
   หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
        2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
   หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ

3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต

        3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface
หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
        3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง

สัปดาห์ที่17

ประโยชน์ของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์


        แม้ว่างานวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์จะเป็นเพียงข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งของอดีตก็ตาม ย่อมจะส่งผลมาถึงเหตุการณ์ในปัจจุบัน และอาจมีอิทธิพลไปถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้ ดังนั้นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จึงมีประโยชน์สำคัญดังนี้
        8.1 ทำให้เราทราบสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต และเมื่อพบปัญหาที่จะเกิดขึ้นในสภาพเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีก
        8.2 ผลการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์สามารถนำมาใช้แก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ในปัจจุบันได้ ทั้งนี้เพราะการวิจัยนี้จะพบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นจุดบกพร่อง ซึ่งสามารถนำมาแก้ไขข้อบกพร่องของงานในปัจจุบันได้
        8.3 เนื่องจากความเป็นมาในอดีตเป็นรากฐานของความเป็นอยู่และความเป็นไปในปัจจุบันและส่งผลต่อไปในอนาคตด้วย ดังนั้นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จึงใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบันได้
        8.4 เพื่อใช้เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และเป็นพื้นฐานแก่ผู้ที่จะทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป

สัปดาห์ที่16

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ



องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ            
การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศอาจจำแนกออกเป็นสองระดับหลัก  
คือองค์การระหว่างประเทศระดับโลก  และระดับภูมิภาค  ซึ่งทั้งสอง
ระดับล้วนเป็นองค์การเพื่อประสานประโยชนืร่วมกันระหว่างประเทศปัจจุบัน 
 ดังนี้
 1.องค์การสหประชาชาติ(The United Nations:UN)
สถาปนาอย่างเป็นทางการ  เมื่อวันที่ 24  ตุลาคม พ.ศ. 2488 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง  
มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา  มีประเทศเอกราชทุกภูมิภาค
เป็นสมาชิกไม่ต่ำกว่า  190 ประเทศในปัจจุบัน  
1.1  เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
1.2  เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างประชาชาติ โดยยึดการเคารพต่อหลักการ
แห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน
1.3  เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ  ในอันที่จะแก้ไขปัญหาระหว่าง
ประเทศทางด้าน  เศษฐกิจ  สังคม และมนุษยธรรมและการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อ
สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานสำหรับทุกคน โดยไม่เลือกปฎิบัติในเรื่องเชื้อชาติ
ศาสนา  เพศ  หรือภาษา
1.4  เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกัน  ในอันที่จะ
บรรลุจุดหมานปลายทางร่วมกัน 
 เช่น   การรักษาสันติภาพ  ส่งเสริมประชาธิปไตย  ส่งเสริมด้านมนุษย์ชน  พัฒนาความ
สัมพันธ์ทางการค้าระดับโลก  ให้ความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา  เป็นต้น
2.สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association  of  
Southeast  Asian  Nation:  ASEAN)หรืออาเซียน
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2510  โดยมีสมาชิกเริ่มแรก  5 ประเทศ  คือ   ไทย อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  
ฟิลิปปินส์  และสิงคโปร์   ในปัจุบันได้สมาชิกเพิ่มได้แก่  บรูไน เวียดนาม  ลาว  และกัมพูชา
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเร่งรัดความเจริญเติบโตทางเศษฐกิจ  ความก้าวหน้าทางสังคม 
วัฒนธรรมของภูมิภาค   ส่งเสริมสันติภาพ  และเสถียรภาพของภูมิภาคตามหลักของ
สหประชาชาติ  ส่งเสริม  ร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องผลประโยชน์ทาเศษฐกิจ
สังคม  วัฒนธรรม วิชาการ  การบริหารอย่างจริงจัง
3.เขตการค้าเสรีอาเซียน(Asean  free  trade  area: AFTA)
เขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตา เป็นการร่วมมือทางเศษฐกิจที่ทำให้การค้าขายในกลุ่ม
อาเซียนขยายตัว เป็นความคิดริเริ่มที่มาจากอดีตนายกรัฐมนตรีไทย   คือ นายอานันท์ ปันยาชุน
ที่เสนอต่อที่ประชุมอาเซียน  ณ  ประเทศสิงคโปร์    
โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อให้การค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเร็ว  อัตรภาษีต่ำที่สุด และเพื่อ
ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติสู่ภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์
การค้าโลกที่เป็นระบบเสรียิ่งขึ้น  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเศษฐกิจของไทยอย่างจริงจัง 
ระบบการค้าเสรี  เป็นลักษณะทวิภาคี  ระหว่างประเทศไทยกับประเทศในเอเชียใต้ เ
อเชียตะวันออกเฉียงใต้  ออสเตรเลีย  และนิวซีแลนด์เป็นต้น
4.ความร่วมมือทางเศษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปก(Asia-pacific 
economic cooperation:APEC)
ก่อตั้งใน  พ.ศ. 2532 ตามข้อเสนอของนายบ็อบฮอร์ก  อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศออสเตรเลีย 
โดยกลุ่มเอเปกเป็นกลุ่มเศษฐกิจที่มีประชากรรวมกันมากที่สุดกว่า 2,000  ล้านคน ครอลคลุม
สามทวีป  คือ  เอเชีย อเมริกา และออสเตรเลีย มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร  
มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและของโลก  
โดยต้องการพัฒนาส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีที่อยู่บนรากฐานของการเปิดการค้าเสรี  
การลงทุน และหาทางลดอุปสรรคทางการค้า  โดยยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกัน 
ซึ่งไทยเคยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมในปี พ.ศ.  2546 

สัปดาห์ที่15

ความขัดแย้งระหว่างประเทศครั้งสำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น

  • ความขัดแย้งระหว่างประเทศครั้งสำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น

สงครามโลกครั้งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่สองเป็นความขัดแย้งระหว่างคู่สงคราม คือ ฝ่ายอักษะ ประกอบด้วย เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่น อีกฝ่ายหนึ่งได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ต่อมาจึงมีประเทศอื่นๆ เข้าร่วม สงคราม ทำให้สงครามขยายไปทั่วโลก 

สาเหตุเริ่มต้นของสงคราม 

สนธิสัญญาสันติภาพที่ไม่เป็นธรรม 

ระบุให้ประเทศที่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย ค่าปฏิกรรมสงครามและเสียดินแดน เช่นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมนี ต้องเสียอาณานิคม ต้องคืนแค้วนอัลซาล – ลอเรนแก่ฝรั่งเศส โปเซนและปรัสเซียตะวันตกให้โปแลนด์ มอรสเนท ยูเพนและมัลเมดีให้เบลเยี่ยม ชเลสวิคและโฮลสไตน์ให้เดนมาร์ก แคว้นซูเดเตนให้เชคโกสโลวาเกีย และ เมเมลให้ลิทัวเนีย จ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ปีละ 5 พันล้านดอลลาร์ ถูกจำกัดกำลังทหารมีทหารได้ไม่เกิน 100,000 คน ห้ามเกณฑ์ทหารเป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขี้น ฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้ปลุกระดมต่อต้านการเสียค่าปฏิกรรมสงคราม และนำความอดยาก ยากจนมาให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง 
ความอ่อนแอของ

 องค์การสันนิบาตชาติ ที่ไม่สามารถบังคับประเทศที่เป็นสมาชิกและไม่ปฏิบัติตามสัตยาบันได้ 

ความแตกต่างทางด้านการปกครอง

กลุ่มประเทศฟาสซิสต์มีความเข้มแข็งมากขึ้น ได้รวมกันเป็น มหาอำนาจอักษะ (Berlin-Rome-Tokyo Axis ) จุดประสงค์แรก คือเพื่อต่อต้านรัสเซีย ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ต่อมาได้ขยายไปสู่การต่อต้านชนชาติยิวและนำไปสู่ความขัดแย้งกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร 

บทบาทของสหรัฐอเมริกา

สหรัฐปิดประเทศโดดเดี่ยว สมัยประธานาธิบดีมอนโร ตามแนวคิดในวาทะมอนโร สหรัฐจะไม่แทรกแซงกิจการประเทศอื่นและไม่ยอมให้ประเทศอื่นมาแทรกแซงกิจการของตนเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ประชาชนจึงเลือกพรรคเดโมแครตเข้ามาเป็นรัฐบาลปกครองประเทศโดยประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี รุสเวลท์ ได้รับเลือกต่อกันถึงสี่สมัย ( ค.ศ.1933 – 1945 )

ชนวนที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ฉนวนโปแลนด์(Polish Corridor) มีชาวเยอรมนีอาศัยอยู่มาก เยอรมนีเสียดินแดนส่วนนี้ให้แก่โปแลนด์ตามสนธิสัญญาแวร์ซาย์ และฉนวนโปแลนด์ยังแบ่งแยกดินแดนเยอรมนีเป็นสองส่วน คือส่วนปรัสเซียตะวันตกและปรัสเซียตะวันออก ฮิตเลอร์ ขอสร้างถนนผ่านฉนวนโปแลนด์ไปปรัสเซียตะวันออก อังกฤษและฝรั่งเศสคัดค้าน ฮิตเลอร์จึงยกเลิกสัญญาที่เยอรมนีจะไม่รุกรานโปแลนด์ และทำสัญญาไม่รุกรานกับสหภาพโซเวียต เยอรมนีเริ่มสงครามด้วยการบุกโปแลนด์ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 แบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg)

ฉนวนโปแลนด์
อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศเข้าร่วมสงคราม ด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ญี่ปุ่นบุกแมนจูเรียในปี ค.ศ.1931 และเสนอแผนการที่จะสถาปนา “วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา” เพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ ญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่ อ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 สหรัฐจึงเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ขณะเดียวกันญี่ปุ่นเปิดสงครามในตะวันออกเฉียงใต้หรือเรียกว่า “สงครามมหาเอเชียบูรพา”

สงครามโลกในยุโรปสิ้นสุดลงเมื่อกองทัพสัมพันธมิตรบุกเข้าเบอร์ลินในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1944 และเมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิ ในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 สงครามโลกจึงสิ้นสุดลง

สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่ ชายฝั่งแคว้นนอร์มังดี วัน V-E DAY
ผลของสงครามโลกครั้งที่สอง 

เกิดองค์การสหประชาชาติเพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกและให้กลุ่มสมาชิกร่วมมือช่วยเหลือกัน นับว่ามีความเข้มแข็งกว่าเดิม เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งและมีกองทหารของสหประชาชาติ

ทำให้เกิดสงครามเย็นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น ประเทศสหภาพโซเวียต ปกครองโดยสมัยสตาร์ลินมีนโยบายขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ ยุโรปตะวันออก และเยอรมนีตะวันออก ซึ่งมีทหารรัสเซียเข้าปลดปล่อยดินแดนเหล่านี้จากอำนาจฮิตเลอร์ในสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่สหรัฐต้องการสกัดกั้นการขยายตัวดังกล่าว และเผยแผ่การปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะดินแดนอาณานิคมที่ประกาศเอกราช เป็นประเทศใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนเกิดสภาวการณ์ที่เรียกว่า สงครามเย็น( Cold War )


สงครามเย็น( Cold War ) 

สงครามเย็นหมายถึง การประจันหน้าด้านอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำลัทธิเสรีประชาธิปไตยกับสหภาพโซเวียตประเทศ ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นการปะทะกันทุก ๆ วิถีทาง ยกเว้นด้านการทหาร การขยายอำนาจในสงครามเย็นจึงเป็นลักษณะการแสวงหาพรรคพวกร่วมอุดมการณ์และแข่งขันกันเป็นมหาอำนาจทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ โดยไม่ทำสงครามกันอย่างเปิดเผย แต่เป็นการสนับสนุนให้ประเทศที่เป็นพวกของแต่ละฝ่ายทำสงครามตัวแทน 

สาเหตุของสงครามเย็น 


สหรัฐอเมริกาได้ประกาศวาทะทรูแมน (Trueman Doctrine)ในค.ศ 1947 มีสาระสำคัญว่า ...สหรัฐอเมริกาจะโต้ตอบการคุกคามของประเทศคอมมิวนิสต์ทุกรูปแบบและทุกสถานที่ แล้วแต่สหรัฐจะเห็นสมควร โดยไม่จำกัด ขนาด เวลา และสถานที่ ....จะให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ให้พ้นจากการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่กรีซและตุรกีเป็นตัวอย่าง สืบเนื่องมาจากสหภาพโซเวียตเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และแทรกแซงให้ความช่วยเหลือกบฎในตุรกีและกรีกเพื่อจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ การประกาศวาทะทรูแมนจึงเป็นจุดเริ่มต้นสงครามเย็นที่แท้จริง ต่อมาสหรัฐได้ประกาศแผนการมาร์แชล(Marshall Plan) เพื่อให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกับยุโรปตะวันตก

ขณะเดียวกันสหภาพโซเวียตได้ตอบโต้ด้วยการจัดตั้ง องค์การโคมินฟอร์ม ( Cominform ) ใน ค.ศ. 1947 เพื่อขยายลัทธิคอมมิวนิสต์สู่ประเทศต่าง ๆ และสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออก ต่อมาได้ซึ่งพัฒนามาเป็นองค์การ โคมินเทอร์น (Comintern)

การเผชิญหน้าทางทหาร ใน ค.ศ. 1949 สหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization ) ประกอบด้วยภาคี 12 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักซัมเบอร์ก สหรัฐอเมริกา แคนาดา เดนมาร์ค ไอซ์แลนด์ อิตาลี นอร์เวย์และเปอร์ตุเกส ต่อมาตุรกีและกรีซ ได้เข้าเป็นสมาชิก และในค.ศ. 1955 เยอรมนีตะวันตกได้เข้าเป็นสมาชิกด้วย

ในค.ศ.1955 สหภาพโซเวียตได้ชักชวนให้ประเทศในยุโรปตะวันออกลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอร์ ( Warsaw Pact)ซึ่งเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางทหาร ประเทศภาคี คือ สหภาพโซเวียต เยอรมนีตะวันออก โปแลนด์ ฮังการี รูมาเนีย บัลกาเรียและเชคโกสโลวาเกีย
วิกฤตการณ์เบอร์ลิน(The Berlin Blockade) ค.ศ.1948 


เบอร์ลินถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนแบ่งเขตยึดครองคือ ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ได้ส่วนยึดครองทางเบอร์ลินตะวันตกและเยอรมนีตะวันตก สหภาพโซเวียตได้เบอร์ลินส่วนตะวันตกและเยอรมนีตะวันตก เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองสหภาพโซเวียตได้ประกาศปิดล้อมเบอร์ลินไม่ให้สัมพันธมิตรเข้าออกเบอร์ลินในวันที่ 19 มิถุนายน 1948 ถึง พฤษภาคม 1949 มิให้มีการติดต่อกับภายนอก เพื่อบังคับให้มหาอำนาจตะวันตกละทิ้งเบอร์ลิน โดยปิดเส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ ตัดกระแสไฟฟ้าประเทศสัมพันธมิตรและคณะมนตรีความมั่นคงแก้ปัญหาโดยการใช้เครื่องบินบรรทุกเครื่องอุปโภคบริโภคไปโปรยให้ชาวเบอร์ลินตะวันตกเป็นเวลากว่า 1 ปี เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การแบ่งแยก เยอรมันนีเป็น 2 ประเทศและแบ่งเบอร์ลินเป็น 2 ส่วนอย่างถาวร

การแบ่งเขตยึดครองเบอร์ลินของของมหาอำนาจ 4 ประเทศ สร้างกำแพงยาวกว่า 27 ไมล์
กั้นระหว่างเบอร์ลินในค.ศ.1961 เรียกกำแพงเบอร์ลิน
ในค.ศ.1949 เยอรมนีตะวันตกได้ตั้งเป็นประเทศ ชื่อว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและสหภาพโซเวียตได้ตั้งเขตปกครองของตนในเยอรมนีตะวันออกเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน เมื่อแบ่งประเทศแล้ว ชาวเยอรมนีตะวันออกได้อพยพมาอยู่ในเขตตะวันตกมากขึ้นตลอดเวลา ทำให้รัสเซียต้อง สร้างกำแพงยาวกว่า 27 ไมล์ กั้นระหว่างเบอร์ลินใน ค.ศ.1961 เรียก กำแพงเบอร์ลิน

เครื่องบินสัมพันธมิตรขนส่งอาหารให้กับประชาชนในเบอร์ลินตะวันตก

กำแพงเบอร์ลิน
กำแพงเบอร์ลินสร้างในปี ค.ศ. 1961 แบ่งเบอร์ลินตะวันตกและตะวันออก ออกจากกัน เป็นสัญลักษณ์สำคัญหนึ่งของสงครามเย็น และถูกทำลายไปเมื่อ ค.ศ. 1989 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1990 โดยมิคาอิล กอบาชอฟ ยินยอมให้เยอรมันทั้งสองตัดสินใจอนาคตตนเอง โดยสหภาพโซเวียตจะไม่เข้าแทรกแซงจึงมีการรวมเยอรมันเป็นประเทศเดียวกันอย่างเป็นทางการ เรียกว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 

เอกสารอ้างอิง

  • คณะกรรมการบริหารวิชาบูรณาการ. มรดกอารยธรรมโลก. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , 2545.
  • สุปราณี มุขวิชิต.ประวัติศาสตร์ยุโรป.เวียนนา ค.ศ.1815 – เบอร์ลิน 2 นคร.
  • สุวิมล รุ่งเจริญ. อารยธรรมสมัยใหม่-ปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2540.

สัปดาห์ที่14

ความขัดแย้งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน

1.ความขัดแย้งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึง ปัจจุบัน

ความขัดแย้งและความร่วมมือของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึง ปัจจุบัน

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 โลกเกิดสงครามครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้ง คือ สงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้มนุษย์ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาลความพินาศหายนะจากสงคราม ทำให้มนุษย์ได้บทเรียนจากความขัดแย้งต่างๆ และพยายามแสวงหาสันติภาพโดยมีการร่วมมือและประสานประโยชน์กัน เพื่อให้โลกเกิดความมั่นคงและความสงบสุข

สงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (อังกฤษWorld War I หรือ First World Warหรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลกหรือ "มหาสงคราม (Great War) ก่อน ค.ศ. 1939 เป็นสงครามใหญ่ที่มีศูนย์กลางในยุโรประหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึง 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ทุกประเทศมหาอำนาจของโลกเกี่ยวพันในสงคราม ซึ่งแบ่งออกเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร (มีศูนย์กลางอยู่ที่ไตรภาคี ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย) และฝ่ายมหาอำนาจกลาง (มีศูนย์กลางอยู่ที่ไตรพันธมิตร ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการีและอิตาลี) พันธมิตรทั้งสองมีการจัดระเบียบใหม่ และขยายตัวเมื่อมีชาติเข้าสู่สงครามมากขึ้น ท้ายสุด มีทหารกว่า 70 ล้านนาย ซึ่งเป็นทหารยุโรปเสีย 60 ล้านนาย ถูกระดมเข้าสู่สงครามใหญ่ที่สุดสงครามหนึ่งในประวัติศาสตร์นี้ สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยังนับว่าเป็นความขัดแย้งวงกว้างภายในทวีปยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามนโปเลียนทหารผู้เข้าร่วมรบเสียชีวิตเกิน ล้านนาย สาเหตุหลักเพราะความร้ายแรงของพลังทำลายของอาวุธที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยไม่มีพัฒนาการในการคุ้มครองหรือความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ที่สอดคล้องกัน สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นสงครามที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์อันดับที่หก สงครามนี้เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและสูญหาย รวมกันไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน และกรุยทางไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายอย่าง เช่น การปฏิวัติในชาติที่เข้าร่วมรบ


สาเหตุระยะยาวของสงครามรวมถึงนโยบายต่างประเทศแบบจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจยุโรปทั้งหลาย อย่างจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิรัสเซียจักรวรรดิอังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลี ส่วนการลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 โดยกัฟรีโล ปรินซีป นักชาตินิยมยูโกสลาฟ เป็นชนวนเหตุใกล้ชิดของสงคราม ออสเตรีย-ฮังการีจึงยื่นคำขาดฮับสบูร์กต่อราชอาณาจักรเซอร์เบีย พันธมิตรทั้งหลายซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเมื่อหลายทศวรรษก่อนถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ มหาอำนาจทั้งหลายจึงอยู่ในภาวะสงคราม และความขัดแย้งลุกลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วผ่านอาณานิคมต่าง ๆ



วันที่ 28 กรกฎาคม ความขัดแย้งเปิดฉากขึ้นเมื่อออสเตรีย-ฮังการีรุกรานเซอร์เบียตามด้วยการรุกรานเบลเยียม ลักเซมเบิร์กและฝรั่งเศสของเยอรมนี และการโจมตีเยอรมนีของรัสเซีย หลังการบุกโจมตีกรุงปารีสของเยอรมนีถูกหยุด แนวรบด้านตะวันตกก็เป็นการรบแห่งการสูญเสียที่อยู่กับที่ด้วยแนวสนามเพลาะซึ่งเปลี่ยนแปลงน้อยมากกระทั่ง ค.ศ. 1917 ในทางตะวันออก กองทัพรัสเซียสามารถเอาชนะกองทัพออสเตรีย-ฮังการี แต่ถูกกองทัพเยอรมันบีบให้ถอยกลับจากปรัสเซียตะวันออกและโปแลนด์ แนวรบใหม่ ๆ เปิดขึ้นเมื่อจักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่สงครามใน ค.ศ. 1914 อิตาลีและบัลแกเรียใน ค.ศ. 1915 และโรมาเนียใน ค.ศ. 1916 จักรวรรดิรัสเซียล่มสลายใน ค.ศ. 1917 และรัสเซียถอนตัวจากสงครามหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน หลังการรุกตามแนวรบด้านตะวันตกของเยอรมนีใน ค.ศ. 1918 กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามและกองทัพสัมพันธมิตรสามารถผลักดันกองทัพเยอรมันกลับไปหลังได้รับชัยชนะติดต่อกันหลายครั้ง เยอรมนี ซึ่งประสบปัญหากับนักปฏิวัติถึงขณะนี้ ได้ตกลงหยุดยิงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ วันสงบศึก และชัยชนะตกเป็นของฝ่ายสัมพันธมิตร
เมื่อสงครามยุติ รัฐจักรวรรดิใหญ่สี่รัฐ อันได้แก่ จักรวรดิเยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและออตโตมัน พ่ายแพ้ทั้งทางการเมืองและทางทหารและได้สิ้นสภาพไป เยอรมนีและรัสเซียสูญเสียดินแดนไปมหาศาล ส่วนอีกสองรัฐที่เหลือนั้นล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง แผนที่ยุโรปกลางได้ถูกเขียนใหม่โดยมีประเทศขนาดเล็กเกิดใหม่หลายประเทศ สันนิบาตชาติถูกก่อตั้งขึ้นด้วยหวังว่าจะป้องกันความขัดแย้งเช่นนี้มิให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ลัทธิชาตินิยมยุโรปเกิดขึ้นหลังสงครามและการล่มสลายของจักรวรรดิทั้งหลาย ผลสะท้อนจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนีและปัญหากับสนธิสัญญาแวร์ซาย ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นปัจจัยซึ่งนำไปสู่การปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง

สงครามโลกครั้งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่สอง (อังกฤษWorld War II หรือ Second World Warมักย่อว่า WWII หรือ WW2) เป็นความขัดแย้งทางทหารในระดับโลกตั้งแต่ ค.ศ. 1939 ถึง 1945 ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศส่วนใหญ่ในโลก รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด ประเทศผู้ร่วมสงครามรวมตัวกันเป็นพันธมิตรทางทหารสองฝ่ายคู่สงคราม คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ระหว่างสงครามมีการระดมทหารมากกว่า 100 ล้านนาย ด้วยลักษณะของ "สงครามเบ็ดเสร็จประเทศผู้ร่วมสงครามหลักได้ทุ่มเทขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อความพยายามของสงครามทั้งหมด โดยไม่เลือกว่าทรัพยากรนั้นจะเป็นของพลเรือนหรือทหาร ประมาณกันว่าสงครามมีมูลค่าราว ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุดและนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 40 ถึงมากกว่า 70 ล้านคน

โดยทั่วไปมักถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การรุกรานโปแลนด์ของเยอรมนี ในวันที่ กันยายน ค.ศ. 1939 อันนำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของฝรั่งเศสและประเทศส่วนใหญ่ในจักรวรรดิอังกฤษและเครือจักรภพ ภายในหนึ่งปี เยอรมนีก็มีชัยเหนือยุโรปตะวันตกเกือบทั้งหมด คงเหลือเพียงสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพที่ยังเป็นกำลังหลักที่ยังต่อกรกับเยอรมนีทั้งที่เกาะบริเตน แอฟริกาเหนือ และกลางแอตแลนติกอย่างยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ฝ่ายอักษะรุกรานสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ฝ่ายจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งกำลังทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1937 ด้วยปรารถนาจะยึดครองเอเชียทั้งหมด จึงฉวยโอกาสโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์และส่งทหารรุกรานหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
การรุกคืบของฝ่ายอักษะยุติลงใน ค.ศ. 1942 หลังความพ่ายแพ้ในญี่ปุ่นในยุทธนาวีมิดเวย์ และหลังความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะยุโรปในอียิปต์และที่สตาลินกราด ใน ค.ศ. 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การรุกรานอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร ตลอดจนถึงชัยชนะของสหรัฐอเมริกาในแปซิฟิกได้ทำลายการริเริ่มและส่งผลทำให้ฝ่ายอักษะล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ใน ค.ศ. 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรเปิดแนวรบใหม่ในฝรั่งเศส เช่นเดียวกับสหภาพโซเวียตที่ยึดดินแดนคืนและรุกรานเยอรมนีและพันธมิตร



สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ สิงหาคม ค.ศ. 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการรุกรานแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ กันยายน ค.ศ. 1945
สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม